วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ (ต้าแป)

กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ (ต้าแป)


กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ

กาแฟโบราณลุงเป๋อ คือ กาแฟโบราณ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 50 ปี ถือเป็นกาแฟโบราณคู่เมืองเชียงใหม่ จุดเริ่มต้นเกิดจากความริเริ่มของผู้ก่อตั้งที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัย พัฒนาสายพันธุ์ การปลูก การเก็บเกี่ยว และแปรรูปกาแฟ จนกระทั่งได้มาซึ่งเมล็ดกาแฟดิบที่ผ่านการแปรรูป มีความสะอาดและคุณภาพในระดับสูง จากนั้น นำมาคั่วและคลุกเคล้าด้วยเคล็ดลับตำหรับเฉพาะของ "กาแฟโบราณลุงเป๋อ" ซึ่งมีที่นี่ที่เดียว

จึงเกิดเป็น กาแฟโบราณ ที่มีกลิ่นและรสชาดเฉพาะตัว มีความหอมเข้ม ต่างจากกาแฟโบราณ ทั่วๆ ไปในปัจจุบัน เนื่องจากเราพิถีพิถันในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตและจัดจำหน่าย กว่าจะได้มาซึ่งกาแฟโบราณ และกาแฟโบราณลุงเป๋อยังมีประวัติศาสตร์ร่วมกับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็น มหานครทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ในภาคเหนือตอนบน

กาแฟโบราณ ที่ขอแนะนำในวันนี้คือ กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ ซึ่งผ่านการวิจัยพัฒนาอย่างเข้มข้น ผ่านการชิม (Cupping Test) โดยบาริสต้า (Barista) ระดับมืออาชีพ จึงทำให้แน่ใจได้ว่า รสชาดของกาแฟโบราณลุงเป๋อ มีความคงที่ ทั้งในด้านกลิ่นและรสชาด กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ จึงมีความเข้มพิเศษ รสหนักแน่น และ มีกลิ่นหอมล้ำลึก เฉกเช่นเดียวกับเรื่องราวในอดีตของเมืองเชียงใหม่

กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ ลองชิมและหาซื้อได้ที่ไหน?

กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สูตรท่าแพ สามารถชิมและหาซื้อได้ที่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 1 ตรงข้ามโรงเรียนโกวิทธำรงค์ ถนนช้างเผือก เชียงใหม่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 2 บูธหน้าร้าน HILLKOFF สาขา 2 ถนนรัตนโกสินท์ เชียงใหม่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 3 ถนนตลาดเก่า เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


ประวัติย่านถนนท่าแพ (ต้าแป)

ประตูท่าแพ แต่เดิมเรียกว่า ประตูเชียงเรือก ซึ่งเป็นประตูทางทิศตะวันออก เป็น 1 ใน 5 ประตูเมืองชั้นในของเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีความสมบูรณ์และมีบานประตู

ประตูท่าแพซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปัจจุบันนี้ เป็นความร่วมมือของเทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2528 โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประกอบกับภาพถ่ายประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง ซึ่งถ่ายไว้ในปี พ.ศ. 2422

เดิมประตูท่าแพเรียกว่า "ประตูเชียงเรือก" เพราะตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านเชียงเรือก สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพญามังรายมหาราช เมื่อตั้งเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839

คำว่า "เชียง" หมายถึง "เวียง" หรือ "เมือง" ส่วนคำว่า "เรือก" นั้นมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า เรือ หรือ เฮือ ซึ่งหมายถึง พาหนะที่ใช้เดินทางไปมาทางแม่น้ำ คู คลอง ฝายเหมือง เป็นต้น ดั้งนั้น คำว่า "เชียงเรือก" หากพูดเป็นภาษาพื้นเมือง ก็แปลว่าเชียงเรือ หรือเวียงเรือ ซึ่งก็หมายถืงเมืองของเรือ แหล่งขายของทางเรือ หรือสถานที่มีเรือมากก็ได้ ด้วยเหตุนี้ในสมัยต่อมาจึงถูกเรียกว่าท่าแพ ตามความหมายเดิมซึ่งก็คือที่จอดแพหรือเรือ มีความหมายเดียวกันคือ เมืองของเรือ ที่ขายของทางเรือ หรือสถานที่มีเรือมาก

ในความเป็นจริงประตูท่าแพนั้นมีอยู่ 2 ประตู โดยในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ประตูท่าแพของจริงเรียกว่าประตูท่าแพชั้นนอก และเรียกประตูเชียงเรือก หรือประตูที่ตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบันว่าประตูท่าแพชั้นใน ภายหลังประตูท่าแพชั้นนอกถูกรื้ออก เหลือประตูท่าแพชั้นในจึงเรียกกันทุกวันนี้ว่าประตูท่าแพ

สถานที่ตั้งย่านท่าแพ


ประตูท่าแพ (ประตูต้าแป) ถนนศรีภูมิ ต. ศรีภูมิ อ. เมือง จ. เชียงใหม่

วิธีเดินทางไปประตูท่าแพ

  • รถสองแถวแดง (รถแดง) เป็นรถรับจ้างไม่ประจำทาง สามารถเรียกได้ทุกที่ ในเมืองเชียงใหม่ เริ่มต้นที่ 20 บาท
  • รถตุ๊กตุ๊ก ราคาแล้วแต่ตกลงกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กาแฟโบราณลุงเป๋อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น