วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557



วิธีการเจาะหลอดดูดกับถุงาแฟโบราณ ลุงเป๋อ แบบถูกวิธี

                                                    




ขั้นตอนที่ 1 ดึงปากถุงพลาสติก ให้ด้านบนถุงตึงขึ้น เพื่อง่ายแก่การเจาะหลอดดูด










ขั้นตอนที่ 2 นำหลอดมาวางพิกัดในส่วนกึ่งกลางด้านบนของถุง











ขั้นตอนที่ 3 หลังจากนั้นยกหลอดขึ้นให้ห่างจากพิกัดที่เราจะเจาะหลอดดูด ตามความเหมาะสม หรือประมาณ 10 ซ.ม. 









ขั้นตอนที่ 4  เจาะหลอดดูดด้วยแรงที่เหมาะสมพอสมควร เพื่อทะลวงให้ถึงเครื่องดื่มภายในถุง












ขั้นตอนที่ 5 เจาะหลอดดูดสำเร็จแล้ว !!!















ขั้นตอนที่ 6 กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ พร้อมดื่มแล้วจ้า...

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กาแฟโบราณเชียงใหม่ เชิญสัมผัสมนต์ขลังของ กาแฟโบราณลุงเป๋อ ที่เป็นตำนานมากว่า 50 ปี

กาแฟโบราณเชียงใหม่ เชิญสัมผัสมนต์ขลังของ กาแฟโบราณลุงเป๋อ ที่เป็นตำนานมากว่า 50 ปี

กาแฟโบราณเชียงใหม่

หากกล่าวถึง กาแฟโบราณเชียงใหม่ อาจจะยังไม่คุ้นหูมากเท่ากับ ข้าวซอยเชียงใหม่ แคปหมูเชียงใหม่ หรือ รถสองแถวแดงเชียงใหม่ นั่นเป็นเพราะความเป็นสากลของ "กาแฟ" ถึงแม้จะเป็น กาแฟโบราณที่มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นที่มีการชงกาแฟแบบนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อลองมาวิเคราะห์กันลงไปจริงๆ ก็พบว่า กาแฟโบราณ ในแต่ละภาค แต่ละจังหวัดนั้นไม่ได้เหมือนกัน (ยกเว้น ในปัจจุบัน ที่มีการทำกันเป็นอุตสาหกรรม ทำให้กาแฟโบราณมีความเป็น Mass product)

แต่เดิมนั้น กาแฟโบราณ เกิดจากพ่อค้าชาวจีนต้องการจำหน่าย กาแฟร้อน-กาแฟเย็น แต่หาวัตถุดิบคือ เมล็ดกาแฟ ได้ยาก หรือ มีราคาสูงมาก ในอดีตราว 50-60 ปี เมล็ดกาแฟถือเป็นของมีค่า และเข้าถึงได้เฉพาะผู้มีฐานะทางสังคมสูงเท่านั้น ดังนั้นร้านกาแฟจึงจำเป็นต้องหาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เช่น เมล็ดข้าวโพด ถั่วเหลือง เมล็ดมะขาม ซึ่งเป็นธัญญพืชหรือเมล็ดพืชต่างๆ นำมาคั่ว โดยอาจจะมีการผสมเมล็ดกาแฟจริงๆ เข้าไป หรือ ไม่มีเลยก็ได้

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า กาแฟโบราณ (แท้ๆ) ในแต่ละจังหวัด แต่ละพื้่นที่นั้น กลิ่นและรสชาดย่อมต่างกันออกไป เนื่องด้วยวัตถุดิบที่ต่าง สูตรผสม กรรมวิธีการชง ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ การพูดว่า กาแฟโบราณเชียงใหม่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เกินจากความจริงไปนัก

แต่เมื่อหันมองดูไปรอบๆ เมือง เชียงใหม่ เราจะเห็นร้าน กาแฟโบราณ ตามย่านชุมชน มากมาย บางแห่งมีมากถึง 2-3 รายในละแวกใกล้เคียงกัน หรือ บางแห่งถึงกับอยู่ตรงข้ามฝั่งถนนกันก็มี เดิมทีชาว เชียงใหม่ ก็นิยมดื่มกาแฟอยู่แล้ว โดยเฉพาะ กาแฟเย็น เพราะช่วยคลายร้อนและเพิ่มความสดชื่นได้เป็นอย่างดี แต่จะเป็นถุงพลาสติกพร้อมยางรัดทำเป็นหูหิ้ว

ร้าน กาแฟโบราณ ใน เชียงใหม่ โดยเฉพาะ กาแฟโบราณ ถุงกระดาษ มีอยู่มากมายที่เป็นแฟรนไชส์ มาจากเมืองหลวง หรือ จังหวัดอื่นๆ แต่ยังไม่มี กาแฟโบราณ ยี่ห้อไหน ที่ระบุว่าเป็น กาแฟโบราณเชียงใหม่ นอกจาก "กาแฟโบราณลุงเป๋อ" ซึ่งวิจัย ผลิต คิดค้น โดยคนเชียงใหม่ อย่างแท้จริง

กาแฟโบราณลุงเป๋อ เริ่มต้นจากผู้ก่อตั้ง ที่เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาเกษตรที่สูง (Highland Agriculture Project) ซึ่งเป็นความร่วมมือจาก UN ประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมา โดยพยายามผลักดันให้ชาวไทยภูเขา (Chao Thai Pu Kao) เปลี่ยนจากการปลูกฝิ่น มาเป็นการปลูกกาแฟ ซึ่งทำได้สำเร็จ โดยทำให้ชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงใหม่ และ ใกล้เคียง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้ก่อตั้งจึงมีความเชี่ยวชาญ และ ชำนาญเกี่ยวกับกาแฟ ตั้งแต่ปลูก เก็บเกี่ยว คัดเลือก แปรรูป คั่ว ฯ

กาแฟโบราณลุงเป๋อ คือ กาแฟโบราณเชียงใหม่ อย่างแท้จริง โดยในกระบวนการคั่วบดและผสมผสาน มีการเติม เมล็ดกาแฟอาราบิก้า เข้าไปด้วย ทำให้มีความหอม กลมกล่อม เข้มข้นจากรสชาดกาแฟอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ กาแฟโบราณเชียงใหม่ หรือ กาแฟโบราณ จากที่ใดก็ตามไม่สามารถทำได้ นี่จึงเป็นความภาคภูมิใจของ กาแฟโบราณลุงเป๋อ ที่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า เป็น กาแฟโบราณเชียงใหม่ ที่มีพร้อมทั้ง รสชาดและกลิ่นอายของตำนานที่มีมาอย่างยาวนาน ขอเชิญสัมผัส กาแฟโบราณลุงเป๋อ ได้ ที่สาขาของเรากว่า 8 สาขา ดังต่อไปนี้


  1. กาแฟโบราณลุงเป๋อ สาขาช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ หน้าโรงเรียนโกวิทย์ธำรงค์
  2. กาแฟโบราณลุงเป๋อ สาขารัตโกสินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ หน้า Hillkoff สาขา 2
  3. กาแฟโบราณลุงเป๋อ สาขาสำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่
  4. กาแฟโบราณลุงเป๋อ สาขาเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ถนนสายตลาดเก่า
  5. กาแฟโบราณลุงเป๋อ สาขาเกาะช้าง จังหวัดตราด
  6. กาแฟโบราณลุงเป๋อ สาขากันตรัง จังหวัดตรัง ใกล้กับด่านตรวจคนเข้าเมืองกันตรัง
  7. กาแฟโบราณลุงเป๋อ สาขาแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
  8. กาแฟโบราณลุงเป๋อ สาขากาดกองต้า จังหวัดลำปาง บริเวณกาดกองต้า
และนี่ก็คือ กาแฟโบราณเชียงใหม่ สายพันธุ์แท้ ทั้งเมล็ดกาแฟ การคั่ว การผสมผสาน วิจัย ทดสอบ จัดจำหน่าย โดยคนเชียงใหม่ อย่างแท้จริง เพื่อเป็นการส่งต่อตำนานเล่าขาน เมืองเชียงใหม่ผ่าน กาแฟโบราณ


สามล้อถีบ ตำนานสารถี..คู่เมืองเจียงใหม่

...หากย้อนไปในอดีตอาชีพคนปั่นสามล้อถีบ หรือ สารถีสามล้อ เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความผูกพันธ์ต่อวิถีชีวิตของคนในเมือง ที่เดินทางไปไหนมาไหนในระยะใกล้ ก็มักจะใช้บริการสามล้อถีบ ตอนใกล้รุ่งเช้าจะเห็นภาพของ อาซิ้ม อาม่า นั่งสามล้อถีบไปจ่ายตลาดสดซื้อข้าวของพะรุงพะรังบรรทุกใส่สามล้อถีบมาที่บ้านหรือที่ร้าน พอสายมาอีกนิดจะมีเด็กนักเรียนตัวเล็กๆนั่งสามล้อถีบไปโรงเรียนเป็นประจำทุกเช้าทั้งขาไปและขากลับในตอนเย็น นอกจากนี้ในแต่ละวันยังมีผู้โดยสารใช้บริการสามล้อถีบไปทำธุระสามล้อถีบ อาชีพเก่าแก่ที่อยู่คู่กับเชียงใหม่มาเกือบ ๗๐ ปี สามล้อถีบที่เชียงใหม่เป็นวิถีชีวิตแบบเก่าที่คนกลุ่มหนึ่งใช้เป็นอาชีพที่เลี้ยงชีวิตและเลี้ยงดูครอบครัว อาชีพนี้กำลังจะกลายเป็นอดีตที่งดงามอันหนึ่งของเชียงใหม่กำลังจะจากไปหายไป(เพราะสังเกตดูว่าคนถีบสามล้ออายุมากๆด้วยกันทั้งนั้น) สามล้อถีบในเชียงใหม่ในปัจจุบัน จะพบได้และใช้บริการได้เฉพาะบางแหล่งในเชียงใหม่เท่านั้น เช่น ตลาดประตูเชียงใหม่ ตลาดวโรรส ตลาดช้างเผือก ซึ่งสามารถเรียกใช้บริการโดยค่าบริการตกลงกันตามระยะทาง
.
.
.
.
.
ลุงเป๋อขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ลุงเป๋อขอขอบคุณรูปตำนานสามล้อถีบ จาก tamtawanclub.com

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันนี้ลุงเป๋อขอนำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆของการเรียก กาแฟโบราณ ที่มีขายตามร้านกาแฟในสมัยก่อน มาให้สมาชิก BLOG กาแฟโบราณลุงเป๋อ อ่านกันครับ


โอเลี้ยง : เป็นคำที่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว

"โอ" แปลว่า ดำ "เลี้ยง" แปลว่า เย็น 
รวมแล้วหมายถึง สิ่งที่มีสีดำและเย็น ก็คือ กาแฟดำเย็น

คนสมัยก่อนจะเรียก กาแฟดำ หรือ จีนแต้จิ๋ว เรียก โอวยั๊ว หรือบางคนเรียกเต็มยศว่า โกปี่โอว (โกปี้ = กาแฟ,โอว = ดำ)

กาแฟดำ + น้ำแข็ง = โอเลี้ยง

กาแฟดำ + นมข้น = โกปี๊

กาแฟดำ + น้ำแข็ง + นมสด = โอเลี้ยงยกล้อ

กาแฟดำ + นมข้น + น้ำแข็ง + นมสด = กาแฟเย็น

กาแฟ+โบราณ = กาแฟโบราณลุงเป๋อนะครับ

และลุงเป๋อขอแนะนำ
โอเลี้ยงสามล้อ สูตรต้นตำรับของ กาแฟโบราณลุงเป๋อ ซึ่งมีรสชาดอันเป็นเอกลักษณ์และความหอมอันโดดเด่นและเป็นที่นิยมของลูกค้าหลายๆท่าน เนื่องจากปรุงตามสูตรโอเลี้ยงโบราณที่ชงอย่างพิถีพิถันจากต้นตำรับที่ต้องอาศัยประสบการณ์มากกว่า 50 ปี  นี่คือ กาแฟโบราณ โดยคนเชียงใหม่ และ อยู่คู่เมืองเชียงใหม่ มาอย่างยาวนาน เราแน่ใจว่าจะต้องเป็นเครื่องดื่มที่ถูกอกถูกใจหลายๆท่านเป็นอย่างมาก

สัมผัสมนต์ขลังแห่ง กาแฟโบราณ ต้อง กาแฟโบราณลุงเป๋อ

อย่าลืม สะสมถุงกระดาษกาแฟโบราณลุงเป๋อ ครบ 10 ถุง นำมาแลกเครื่องดื่มได้ 1 ถุง ฟรี!!!
--------------------------------------------------------
สนใจติดต่อแฟรนไชส์กาแฟโบราณลุงเป๋อ โทร. 082-762-9259 และ 053-231030 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรช้างม่อย (จ๊างม่อย)



กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรช้างม่อย (จ๊างม่อย)

กาแฟโบราณลุงเป๋อ คือ กาแฟโบราณ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 50 ปี ถือเป็นกาแฟโบราณคู่เมืองเชียงใหม่ จุดเริ่มต้นเกิดจากความริเริ่มของผู้ก่อตั้งที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัย พัฒนาสายพันธุ์ การปลูก การเก็บเกี่ยว และแปรรูปกาแฟ จนกระทั่งได้มาซึ่งเมล็ดกาแฟดิบที่ผ่านการแปรรูป มีความสะอาดและคุณภาพในระดับสูง จากนั้น นำมาคั่วและคลุกเคล้าด้วยเคล็ดลับตำหรับเฉพาะของ "กาแฟโบราณลุงเป๋อ"ซึ่งมีที่นี่ที่เดียว

จึงเกิดเป็น กาแฟโบราณ ที่มีกลิ่นและรสชาดเฉพาะตัว มีความหอมเข้ม ต่างจากกาแฟโบราณ ทั่วๆ ไปในปัจจุบัน เนื่องจากเราพิถีพิถันในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตและจัดจำหน่าย กว่าจะได้มาซึ่งกาแฟโบราณ และกาแฟโบราณลุงเป๋อยังมีประวัติศาสตร์ร่วมกับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็น มหานครทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ในภาคเหนือตอนบน

กาแฟโบราณ ที่ขอแนะนำในวันนี้คือ กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรช้างม่อย ซึ่งผ่านการวิจัยพัฒนาอย่างเข้มข้น ผ่านการชิม (Cupping Test) โดยบาริสต้า (Barista) ระดับมืออาชีพ จึงทำให้แน่ใจได้ว่า รสชาดของกาแฟโบราณลุงเป๋อ มีความคงที่ ทั้งในด้านกลิ่นและรสชาด กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรช้างม่อย จึงมีความเข้มแบบกลางๆ แต่คงบอดี้หนักแน่น และ มีกลิ่นหอมกลมกล่อม ยาวนาน เฉกเช่นเดียวกับเรื่องราวในอดีตของเมืองเชียงใหม่

กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรกาดหลวง ลองชิมและหาซื้อได้ที่ไหน?

กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สูตรช้างม่อย สามารถชิมและหาซื้อได้ที่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 1 ตรงข้ามโรงเรียนโกวิทธำรงค์ ถนนช้างเผือก เชียงใหม่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 2 บูธหน้าร้าน HILLKOFF สาขา 2 ถนนรัตนโกสินท์ เชียงใหม่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 3 ถนนตลาดเก่า เชียงดาว

ประวัติย่านช้างม่อย (จ๊างม่อย)

ย่านช้างม่อย หรือ คำเมือง (ภาษาถิ่นเชียงใหม่) เรียกว่า "จ๊างม่อย" เป็นถนนเก่าแก่ที่เปรียบเสมือนทางเชื่อมเศรษฐกิจและความเจริญมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากถนนช้างม่อย เป็นถนนที่เชื่อมระหว่าง ย่านท่าแพ และ ตลาดวโรรส (กาดหลวง) แหล่งค้าขายและพื้นที่เศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ และเป็นจุดกำเนิดตระกูลต่างๆ ที่เป็นกลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ถนนช้างม่อยในอดีต จึงมีทั้งแหล่งความบันเทิง ร้านอาหารและเครื่องดื่ม เช่น กาแฟโบราณ สูตรช้างม่อย ที่ กาแฟโบราณลุงเป๋อ ได้สืบทอดตำหรับในการคั่วและคลุกเคล้าเมล็ดกาแฟ ทำให้ได้ กาแฟโบราณที่สามารถถ่ายทอด เรื่องราวที่ย่านช้างม่อย ได้ซึมซับจากอดีตสู่ปัจจุบัน

สถานที่ตั้งย่านช้างม่อย (จ๊างม่อย)


ถนนช้างม่อย ต. ช้างม่อย อ. เมือง จ. เชียงใหม่

วิธีเดินทางไปช้างม่อย

  • รถสองแถวแดง (รถแดง) เป็นรถรับจ้างไม่ประจำทาง สามารถเรียกได้ทุกที่ ในเมืองเชียงใหม่ เริ่มต้นที่ 20 บาท
  • รถตุ๊กตุ๊ก ราคาแล้วแต่ตกลงกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กาแฟโบราณลุงเป๋อ

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557


เกร็ดความรู้กาแฟโบราณ

มาเรียนศัพท์วัยรุ่นสมัยเก่ากันดีกว่า กาแฟ คือวัฒนธรรมจริงๆครับ เคยสงสัยไหม? ทำไมชื่อเรียกกาแฟบ้านเรามักไม่ฟังดูเป็นคำไทยเป๊ะๆ แต่มีศัพท์ภาษาจีนมาผสมเป็นคำใหม่

อย่างโอวเลี้ยงน่าจะรู้จักมากสุด แต่เจ้าโอยัวะ ยกล้อ นี่ชื่อไม่คุ้น... เชื่อว่าคนรุ่นใหม่หลายคนอาจจะไม่รู้จัก บทความนี้จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแนะนำกาแฟไทยๆ หรือ กาแฟโบราณ หลากหลายแบบให้ได้รู้จัก เสาร์อาทิตย์ไหนว่างๆ แวะไปร้านอาโก จะได้สั่งกันถูกครับ

โอวเลี้ยงและโอยัวะ เป็นภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วครับ "โอว" แปลว่า "ดำ" ในขณะที่ "เลี้ยง" แปลว่า "เย็น" ส่วน "ยัวะ" ที่เราๆ ท่านๆ มาใช้เป็นศัพท์ในนัยความหมายว่า "โมโห" นั้น ภาษาจีนแต้จิ๋วจริงๆ แปลว่า "ร้อน" ครับ (อันนี้ไอน์สไตน์น้อยคิดว่ามาจากพื้นฐานเดียวกันจากคำว่า "ร้อน" อย่างเวลาเราพูดว่า "อย่ายัวะน่า ใจเย็น" มันก็น่าจะแปลว่า "อย่าร้อนน่า ใจเย็น" ได้เหมือนกัน)

โอวเลี้ยงจึงแปลว่า "ดำเย็น"
และโอวยัวะ แปลตรงตัวได้ว่า "ดำร้อน"

จริงๆ แล้วคนไทยเรียกทั้งภาษาไทยและภาษาจีนนะครับ เพราะเคยอ่านเจอในนิยายสมัยก่อนบางเล่ม อาทิ "สนิมสร้อย" และ "หอมดอกประดวน" ของพญาอินทรีแห่งสวนอักษร " 'รงค์ วงษ์สวรรค์" แล้วพบว่าตัวเอกในเล่มมีการเรียกกาแฟดำเย็นว่า "ดำเย็น" เหมือนกัน

ส่วนคำว่า "โกปี๊" เป็นภาษาจีนครับ ใช้เรียก "กาแฟ" ในขณะที่นักดื่มกาแฟรุ่นเดอะหลายๆ คนเรียกโอยัวะแบบเต็มๆ ว่า "โกปี๊โอว" ที่แปลว่า "กาแฟดำ" ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าต้องเป็น "ร้อน" เท่านั้นครับ

สำหรับคำว่า " ยกล้อ " 
เรื่องของเรื่องก็คือ สมัยก่อนนี้ไทยเรามีนมข้นจืดยี่ห้อสุดฮิตที่ใช้กันแทบทุกร้าน กาแฟโบราณ ครับ มีโลโก้เป็น "จักรยาน" แล้วทีนี้นักดูดโอวเลี้ยงบางคนอาจจะรู้สึกว่าโอวเลี้ยงแก้วโปรดหนักไปในบางวัน อาจจะเข้มขมหรือหวานแหลมปรี๊ดไม่ปรานีปราศรัยจนเกินไป ก็เลยสั่งให้เติมนมจืดลงไปด้วย แต่ถ้าจะให้สั่งแบบภาษาธรรมดามันก็ไม่เฟี้ยว ไม่เปรี้ยว ไม่สมกับเป็นโก๋หลังวังอะไรแบบนั้น ก็ต้องประดิษฐ์คำสนุกๆ มาเรียก ก็เลยเปลี่ยนจากประโยคเดิมที่ว่า

"เติมนมจืดให้ด้วย" กลายเป็น

"ยกล้อ"

จากโลโก้ข้างกระป๋องด้วยประการฉะนี้ล่ะครับ

-------------------------------------------------------------------------------------

เข้มเต็มรสไทยแท้ กาแฟคุณภาพ
...ต้อง... กาแฟโบราณ " ลุงเป๋อ "

สัมผัสมนต์ขลังแห่งกาแฟโบราณ ต้องกาแฟโบราณลุงเป๋อ กาแฟดี คู่เมืองเชียงใหม่มากว่า 50 ปี

สนใจติดต่อแฟรนไชส์กาแฟโบราณลุงเป๋อ หรือสั่งซื้อวัตถุดิบ โทร. 082-762-9259 และ 053-231030




กาแฟโบราณลุงเป๋อ "ถูกหลักสุขอนามัย อร่อยนาน ปริมาณเต็มอิ่ม"

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ (ต้าแป)

กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ (ต้าแป)


กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ

กาแฟโบราณลุงเป๋อ คือ กาแฟโบราณ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 50 ปี ถือเป็นกาแฟโบราณคู่เมืองเชียงใหม่ จุดเริ่มต้นเกิดจากความริเริ่มของผู้ก่อตั้งที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัย พัฒนาสายพันธุ์ การปลูก การเก็บเกี่ยว และแปรรูปกาแฟ จนกระทั่งได้มาซึ่งเมล็ดกาแฟดิบที่ผ่านการแปรรูป มีความสะอาดและคุณภาพในระดับสูง จากนั้น นำมาคั่วและคลุกเคล้าด้วยเคล็ดลับตำหรับเฉพาะของ "กาแฟโบราณลุงเป๋อ" ซึ่งมีที่นี่ที่เดียว

จึงเกิดเป็น กาแฟโบราณ ที่มีกลิ่นและรสชาดเฉพาะตัว มีความหอมเข้ม ต่างจากกาแฟโบราณ ทั่วๆ ไปในปัจจุบัน เนื่องจากเราพิถีพิถันในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตและจัดจำหน่าย กว่าจะได้มาซึ่งกาแฟโบราณ และกาแฟโบราณลุงเป๋อยังมีประวัติศาสตร์ร่วมกับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็น มหานครทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ในภาคเหนือตอนบน

กาแฟโบราณ ที่ขอแนะนำในวันนี้คือ กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ ซึ่งผ่านการวิจัยพัฒนาอย่างเข้มข้น ผ่านการชิม (Cupping Test) โดยบาริสต้า (Barista) ระดับมืออาชีพ จึงทำให้แน่ใจได้ว่า รสชาดของกาแฟโบราณลุงเป๋อ มีความคงที่ ทั้งในด้านกลิ่นและรสชาด กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ จึงมีความเข้มพิเศษ รสหนักแน่น และ มีกลิ่นหอมล้ำลึก เฉกเช่นเดียวกับเรื่องราวในอดีตของเมืองเชียงใหม่

กาแฟโบราณลุงเป๋อ สูตรท่าแพ ลองชิมและหาซื้อได้ที่ไหน?

กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สูตรท่าแพ สามารถชิมและหาซื้อได้ที่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 1 ตรงข้ามโรงเรียนโกวิทธำรงค์ ถนนช้างเผือก เชียงใหม่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 2 บูธหน้าร้าน HILLKOFF สาขา 2 ถนนรัตนโกสินท์ เชียงใหม่
  • กาแฟโบราณ ลุงเป๋อ สาขา 3 ถนนตลาดเก่า เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


ประวัติย่านถนนท่าแพ (ต้าแป)

ประตูท่าแพ แต่เดิมเรียกว่า ประตูเชียงเรือก ซึ่งเป็นประตูทางทิศตะวันออก เป็น 1 ใน 5 ประตูเมืองชั้นในของเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีความสมบูรณ์และมีบานประตู

ประตูท่าแพซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปัจจุบันนี้ เป็นความร่วมมือของเทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2528 โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประกอบกับภาพถ่ายประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง ซึ่งถ่ายไว้ในปี พ.ศ. 2422

เดิมประตูท่าแพเรียกว่า "ประตูเชียงเรือก" เพราะตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านเชียงเรือก สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพญามังรายมหาราช เมื่อตั้งเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839

คำว่า "เชียง" หมายถึง "เวียง" หรือ "เมือง" ส่วนคำว่า "เรือก" นั้นมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า เรือ หรือ เฮือ ซึ่งหมายถึง พาหนะที่ใช้เดินทางไปมาทางแม่น้ำ คู คลอง ฝายเหมือง เป็นต้น ดั้งนั้น คำว่า "เชียงเรือก" หากพูดเป็นภาษาพื้นเมือง ก็แปลว่าเชียงเรือ หรือเวียงเรือ ซึ่งก็หมายถืงเมืองของเรือ แหล่งขายของทางเรือ หรือสถานที่มีเรือมากก็ได้ ด้วยเหตุนี้ในสมัยต่อมาจึงถูกเรียกว่าท่าแพ ตามความหมายเดิมซึ่งก็คือที่จอดแพหรือเรือ มีความหมายเดียวกันคือ เมืองของเรือ ที่ขายของทางเรือ หรือสถานที่มีเรือมาก

ในความเป็นจริงประตูท่าแพนั้นมีอยู่ 2 ประตู โดยในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ประตูท่าแพของจริงเรียกว่าประตูท่าแพชั้นนอก และเรียกประตูเชียงเรือก หรือประตูที่ตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบันว่าประตูท่าแพชั้นใน ภายหลังประตูท่าแพชั้นนอกถูกรื้ออก เหลือประตูท่าแพชั้นในจึงเรียกกันทุกวันนี้ว่าประตูท่าแพ

สถานที่ตั้งย่านท่าแพ


ประตูท่าแพ (ประตูต้าแป) ถนนศรีภูมิ ต. ศรีภูมิ อ. เมือง จ. เชียงใหม่

วิธีเดินทางไปประตูท่าแพ

  • รถสองแถวแดง (รถแดง) เป็นรถรับจ้างไม่ประจำทาง สามารถเรียกได้ทุกที่ ในเมืองเชียงใหม่ เริ่มต้นที่ 20 บาท
  • รถตุ๊กตุ๊ก ราคาแล้วแต่ตกลงกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กาแฟโบราณลุงเป๋อ